ความหมายของคำว่า "เดจาวู" - ความหมายของคำว่า "เดจาวู" นิยาย ความหมายของคำว่า "เดจาวู" : Dek-D.com - Writer

    ความหมายของคำว่า "เดจาวู"

    เดจาวู เป็นภาษาฝรั่งเศส ( deja vu ) แปลว่า เคยได้พบเห็นมาแล้ว ขอโทษครับ ผมลืมให้เครดิต เว็บที่ไปเอามาพอดีโพสเสร็จก็มีงานเลย ผมเอามาจากเว็บ http://xchange.teenee.com ครับ

    ผู้เข้าชมรวม

    9,130

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    17

    ผู้เข้าชมรวม


    9.13K

    ความคิดเห็น


    188

    คนติดตาม


    24
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  4 ต.ค. 49 / 12:39 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ
      เดจาวู เป็นภาษาฝรั่งเศส ( deja vu ) แปลว่า เคยได้พบเห็นมาแล้ว
      เดจาวู ไม่ใช่เรื่องใหม่ เป็นปรากฏการณ์ที่มนุษยชาติพบพาน ทุกเพศวัย ทุกชนชาติแห่งหน
      คำอธิบายที่เรามักอ้างให้ตัวเองคือ "คิดไปเองน่า"  เราคิดไปเองจริงหรือ ?

      คุณเคยบ้างไหมที่อยู่ๆก็แวบเข้าขึ้นมาว่า เหมือนเคยเกิดเหตุการณ์แบบนี้มาแล้ว แต่จำไม่ได้ว่าในฝันหรือในอดีต

      มาฟังคำอธิบาย หรือประสบการณ์ของคนที่เจอเหตุการณ์ แบบนี้กันดูดีกว่า เช่น ไปเที่ยวต่างจังหวัดที่ไม่เคยไปมาก่อน เดินไปยืนที่ระเบียง เอ๊ะ คุ้นๆว่าระเบียงนี้ มุมนี้ เรายืนแบบนี้..

      หรือมีคนเล่าว่า เขานั่งรถทัวร์กลับต่างจังหวัดตอนดึก ระหว่างทางเห็นอุบัติเหตุข้างทาง แล้วก็ผ่านไป  สักพักก็เห็นอีก เห็นอยู่เรื่อย ที่สำคัญเป็นคันเดิม คนเดิม บางทีกำลังหันมามองเขาด้วย
      โดนที่ไม่ใช่ฝันแน่นอน พอรู้สึกตัวอีกที รถจอด ปรากฏว่ามีอุบัติเหตุเกิดขึ้นเหมือนเปี๊ยบ

      เดจาวู อย่างเดียวกับ ฝันบอกเหตุ หรือไม่ บ้างก็บอกว่า เดจาวู ต่างจาก ฝันบอกเหตุ แต่บ้างก็ว่า ฝันบอกเหตุ เป็นเดจาวูชนิดหนึ่ง ที่แน่นอนคือ ฝันบอกเหตุ เกิดตอนฝันเท่านั้น เป็นฝันพยากรณ์
      แต่ เดจาวู เกิดตอนตื่นก็ได้ และส่วนใหญ่มักจะหมายถึงตอนตื่น และถ้าเกิดตอนฝัน มักจะไม่เรียก เดจาวู

      เดจาวู เป็นประสบการณ์ทางจิต ที่เกิดได้กับทุกคน และทุกเวลา อาจเป็นอดีตชาติ อาจเป็นโลกคู่ขนาน อาจเป็นพลังจิต หรืออาจเป็นแค่ภาพลวงตาทางสมอง


      ทฤษฎีแรก อดีตชาติ

      สิ่งใดก็ตามที่เคยเกิดไปแล้วในอดีต จะย้อนกลับมาเกิดซํ้าอีก เหมือนกับการที่เรากลับชาติมาหลายชาติ นั่นแหละ เราจะผ่านประสบการณ์มากมาย และบางสิ่งอาจหลงเหลือในความทรงจำ แล้วย้อนกลับมาเกิดอีก ทำให้รู้สึกว่าเคยเห็นมาก่อน

      เดจาวู เป็นประสบการณ์ทางจิตวิญญาณ..

      ศัพท์ทางวิทยาศาสตร์ เรียกว่า เดจาวู มันเกิดจากการที่ขณะหลับ จะมีการหลับอยู่หลายขั้น (ประมาณ 5ขั้น) ถ้าเห็นอนาคตที่เคยทำ ก็จะอยู่ประมาณขั้นที่ 3 ยิ่งขั้นมากขึ้น ความสัมพันธ์กับร่างกายและวิญญาณ จะยิ่งห่างไกลกันออกไป ถ้าหลับลึกถึงขั้นที่ 5 ก่อนหลับจะรู้สึกชาตามร่างกายทั้งตัว ขยับตัวเองไม่ได้ พูดไม่ได้ (ลักษณะที่คนทั่วไปเรียกว่าถูกผีอำ) ถ้าหลับในสภาพนี้ อัตราค่าซิงโครกับร่างกายจะลดต่ำ ลงจนเหลือ 0 แล้ววิญญาณก็จะหลุดออกจากร่างกาย.. (จะเป็นไงก็ไม่รู้เพราะยังไม่มีใครเคยลองทำ)

      ทฤษฎีที่สอง พลังจิต

      บ้างว่า เดจาวู เป็นพลังจิตรูปหนึ่ง บ้างเรียกว่า ตาทิพย์ หรือ กสิณ ในตำราพราหมณ์ แบ่งเป็น 10 แบบ เช่น เพ่งในเปลวเทียน หรือ เตโชกสิณ หรือเพ่งไปในน้ำ อย่างที่เราเรียกว่า อาโปกสิณ ฯลฯ

      เราทุกคนมีพลังจิต เพียงแต่จะอ่อนจะเข้ม บางทีเพราะเราไม่ได้ฝึก จะเก็บกดไว้ภายใน วันดีคืนดีก็ล้นออกมา ตามตำรา ถ้าได้ฝึก เราสามารถควบคุมได้

      มีนักพยากรณ์หลายคน พยากรณ์ได้จากการเพ่ง ว่ากันว่า มีผู้หนึ่งมีเดจาวูแรงกล้ามาก หาใครเปรียบ เขาชื่อ นอสตราดามุส


      ทฤษฎีที่สาม จักรวาลคู่ขนาน

      อธิบายเกี่ยวกับ โลกคู่ขนาน หรือ จักรวาลคู่ขนาน ก่อน หมายถึง จักรวาลที่ดำเนินไปพร้อมกับจักรวาลที่เราอยู่นี้   ทฤษฎีนี้นักฟิสิกส์ริเริ่มคิดขึ้นมา

      เคยไหม มีเหตุการณ์ที่เราลังเลอยู่ 2 ทาง แต่เราก็ตัดสินใจไปทางหนึ่ง แล้วคิดไหมว่า ถ้า ณ วันนั้นเราติดสินใจเป็นอย่างอื่น อะไรจะเกิดขึ้น

      ในโลกนี้ที่เรามีตัวตนอยู่ในขณะนี้ ขณะเดียวกันก็มีเราอีกคนหนึ่งในอีกโลกหนึ่ง และมีโลกคู่ขนานมากมายนับไม่ถ้วน..

      เช่น ขณะนี้เราได้ตัดสินใจบางสิ่ง ซึ่งนำไปสู่ความสำเร็จ ขณะที่อีกคนของเราได้ตัดสินใจไปอีกทางทำให้ชีวิตตนเอง และผู้อื่นเสียหาย ก็เป็นได้  อีกตัวอย่าง บางครั้งคุณอยากฆ่าตัวตายแต่คุณล้มเลิก  บางทีคุณในโลกคู่ขนานอาจฆ่าตัวตายไปแล้วก็ได้ อะไรประมาณนี้

      ตัวอย่าง ปัญหาทางทฤษฎีมิติเวลา สมมติคุณเดินทางย้อนเวลาได้ เมื่อวานคุณเก็งหุ้นตัวหนึ่ง วันนี้หุ้นนั้นล้ม คุณล้มละลาย คุณเดินทางย้อนเวลาไปเตือนคุณในอดีต คุณในอดีตรู้คำเตือน และยกเลิกหุ้นตัวนั้น เมื่อวานคุณไม่ได้ถือหุ้นตัวนั้น ถ้าเช่นนั้น วันนี้คุณไม่ได้ล้มละลาย ในเมื่อคุณไม่ได้ล้มละลาย คุณก็ไม่ได้เดินทางย้อนเวลาไปบอกตัวเองในอดีต คุณในอดีตก็ไม่รู้ว่า หุ้นตัวนั้นจะล้ม และเก็งหุ้นตัวนั้น ตกลงวันนี้คุณล้มละลายหรือเปล่า

      ทฤษฎีเกี่ยวกับโลกคู่ขนาน จึงถูกคิดขึ้นเพื่ออธิบายปรากฏการณ์ความผันผวนของมิติเวลาเหล่านี้ ทุกๆเหตุการณ์ที่เรามี 2 ตัวเลือก จะเกิดโลกคู่ขนาน 2 โลก และจาก 2 โลก ถ้าเราเจอเหตุการณ์อื่นที่ต้องตัดสินใจ 2 ทาง แต่ละโลก จะเกิดโลกคู่ขนานอีก 2 โลก โลกคู่ขนานจึงมีจำนวน นับไม่ถ้วน

      จากตัวอย่างเรื่องหุ้น ทฤษฎีอธิบายว่า คุณไม่อาจเปลี่ยนอดีตของตัวได้ เมื่อคุณเดินทางไปบอกตัวเองให้เลิกหุ้นนั้น คุณในอดีต ที่ตัดสินใจไม่เอาหุ้นนั้น จะเกิดอนาคตที่วันนี้คุณไม่ล้มละลาย.. จริง แต่เป็น คนละอนาคต กับวันนี้ของคุณ ที่คุณล้มละลาย คือเกิดเป็น 2 โลก คุณกลับมาปัจจุบัน โลกวันนี้ คุณก็ยังล้มละลายอยู่ดี แต่โลกที่คุณย้อนไปบอก คุณอีกคนนั้นเขาไม่ล้มละลาย

      ( ถ้าใครเคยดูการ์ตูนดราก้อนบอลแซดคงเข้าใจมากขึ้น ทรังค์ย้อนเวลาจากโลกที่ถูกหมายเลข17,18 ทำลาย มาในปัจจุบัน ในที่สุดโลกที่เขามา ไม่ถูกทำลาย แต่เขากลับไป โลกของเขาก็ยังเป็นโลกที่ถูกทำลายอยู่ดี ไม่เช่นนั้นเขาจะมาได้อย่างไร )


      มีคนผูกทฤษฎีเดจาวู กับทฤษฎีจักรวาลคู่ขนาน กล่าวว่า การที่เรารู้สึกหรือเห็นภาพที่คล้ายว่าเคยทำมาก่อน นั่นแหละ คุณเคยทำจริง แต่เป็นคุณในอีกโลกหนึ่งต่างหากที่ได้ทำ คุณในทุกๆโลก ถูกผูกกันด้วยสายใยบางอย่าง อาจเป็นเพราะ สมองมีคลื่นตรงกัน ก็เป็นคุณคนเดียวกันนี่นา
      ในบางจังหวะที่เหมาะสม กระแสประสาทจูนกัน คุณก็ได้รับรู้ถึงกระแสความคิดจากคุณในอีกโลก


      ทฤษฎีสุดท้าย คิดไปเอง

      ดูแนวคิดของหลักวิทยาศาสตร์กันบ้าง ทางวิทยาศาสตร์อธิบายว่า เกิดจากสมองแปลข้อมูลผิดพลาด พูดง่ายๆก็คือ ไม่ได้เห็นมาแล้วหรอก แต่คิดไปว่าเห็นมาแล้ว

      ทางการแพทย์เรียกว่า การไหลของคลื่นกระแสไฟฟ้า ในสมองเกิดการผิดปกติ ทำให้การกระทำที่กำลังทำอยู่ ณ ขณะนั้น คลับคล้ายว่าเคยเกิดมาก่อนหน้านี้มาแล้ว แต่ไม่สามารถจำเวลาได้..

      สมองคนเราก็เหมือนเครื่องจักรย่อมเกิดข้อผิดพลาดบ้าง อธิบายว่า เดจาวู เกิดจาก เมื่อสมองรับภาพมาจากประสาทตา ก็นำมาแปลความหมาย สมองมี 2 ซีก ตามี 2 ข้าง ประสาทตาซ้ายเข้าสมองซีกขวา ประสาทตาขวาเข้าสมองซีกซ้าย
      ฉะนั้นสมองทั้งสอง ต้องทำงานประสานกันและกันอย่างมาก

      เมื่อเกิดสมองข้างหนึ่ง เกิดส่งข้อมูลมาช้าไปเพียงนิดเดียว ทำให้สมองแปลความหมายของภาพนั้นว่า เป็นภาพจากความจำไม่ใช้ปัจจุบัน ทำให้รู้สึกว่าเหตุการณ์ที่เจอนั้นเคยเห็นมันมาก่อน..

      มีหลักฐานว่า โดยส่วนมาก คนที่เป็นลมบ้าหมู หรือมีประวัติคนในครอบครัวเป็น จะมีโอกาสเกิดบ่อยกว่า และมีโอกาสเกิดบ่อยมากขึ้น ก่อนที่จะมีอาการชัก



      สรุปว่า เดจาวู เกิดขึ้นได้อย่างไร

      นี้คือ ปริศนา ที่เราทุกคนใคร่หาคำตอบต่อไป

      แล้วคุณล่ะ คิดอย่างไร ?

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×